หมวด A


A-X(ASEAN Minus X)

เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนความร่วมมืออาเซียนที่มีความยืดหยุ่นซึ่งเปิดโอกาสให้สามารถริเริ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจได้โดยไม่ต้องรอให้ทุกประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วมพร้อมกัน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AADCP (ASEAN-Australia Development Cooperation Programme)

โครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาอาเซียน-ออสเตรเลีย

เป็นกรอบความร่วมมือระยะ 5 ปี ที่ออสเตรเลียให้ความร่วมมือกับ อาเซียนในด้านโครงการพัฒนากับอาเซียน โดยจะเริ่มโครงการครั้งแรกระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2544-2549 มีมูลค่ารวม 45 ล้านเหรียญออสเตรเลีย ซึ่งอาเซียนต้องออกเงินสมทบโครงการอีกร้อยละ 20 อนึ่ง AADCP เป็นโครงการความร่วมมือที่เกิดขึ้นเพื่อทดแทน AAECP (ASEAN-Australia Economic Cooperation Programme หรือ โครงการร่วมมือด้านเศรษฐกิจอาเซียน-ออสเตรเลีย) ซึ่งจะสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2546

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AAF (ASEAN-Australia Forum)

การประชุมอาเซียน-ออสเตรเลีย

เป็นการประชุมระดับอธิบดี จัดขึ้นทุกๆ 18 - 24 เดือน โดยหัวหน้าคณะ ผู้แทนของออสเตรเลียและประเทศผู้ประสานงานของอาเซียนจะเป็นระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (ปลัดกระทรวงฯ) และเป็นประธานร่วมของการประชุม เพื่อหารือและกำกับดูแลความร่วมมือระหว่างกันในทุกด้านน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AAF (Asia-Africa Forum)

การประชุมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียกับแอฟริกา

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AASROC (Asian-African Sub-Regional Organizations Conference)

การประชุมองค์การอนุภูมิภาคเอเชีย-แอฟริกา

มีการประชุมครั้งแรกที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซียเมื่อปี 2546

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ABAC (APEC Business Advisory Council)

สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ABS (Access and Benefit Sharing)

การแบ่งปันผลประโยชน์และการเข้าถึง

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ABTC (APEC Business Travel Card)

บัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจเอเปค

เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักธุรกิจสมาชิกเอเปค (ที่เป็นสมาชิกโครงการ) สามารถเดินทางเข้า-ออกประเทศสมาชิกเอเปค (ที่เป็นสมาชิกโครงการ) ได้ มีกำหนดอายุ 3-5 ปี

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ACB (ASEAN Committee in Beijing)

คณะกรรมการอาเซียนประจำกรุงปักกิ่ง

" ประกอบด้วยเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนประจำกรุง ปักกิ่ง มีหน้าที่ในการประสานผลประโยชน์และเป็นกลไกกลางของ อาเซียนในการมีปฏิสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนที่กรุงปักกิ่ง

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ACBC (ASEAN-Canada Business Council)

การประชุมสภาธุรกิจอาเซียน-แคนาดา

มีการประชุมทุกปีในระหว่างการประชุมสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมอาเซียน เพื่อพิจารณาปัญหาและอุปสรรคในการติดต่อค้าขาย และการร่วมลงทุนระหว่างกัน ตลอดจนเสนอแนะแนวทางของความร่วมมือ

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ACC (ASEAN Coordinating Council)

คณะมนตรีประสานงานอาเซียน

ประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ทำหน้าที่ในการเตรียมการประชุมของที่ประชุมสุดยอดอาเซียน และประสานงานกับคณะมนตรีประชาคมอาเซียนต่าง ๆ เพื่อความสอดคล้องกันตามนโยบาย ประสิทธิภาพ และความร่วมมือระหว่างกัน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ACCSM (ASEAN Conference on Civil Service Matters)

การประชุมอาเซียนว่าด้วยกิจการพลเรือน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ACCSQ (ASEAN Consultative Committee on Standards and Quality)

คณะกรรมการที่ปรึกษาของอาเซียนด้านมาตรฐานและคุณภาพ

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ACD (Asia Cooperation Dialogue)

ความร่วมมือเอเชีย

เวทีความร่วมมือในระดับทวีปเอเชีย โดยเป็นความคิดริเริ่มของไทยในการสร้างกรอบความร่วมมือที่ครอบคลุมทุกอนุภูมิภาคของเอเชีย มีวัตถุประสงค์ที่จะเชื่อมโยงจุดแข็งและต่อยอดความร่วมมือต่าง ๆ ของประเทศเอเชีย โดยอาศัยความแตกต่างหลากหลายและทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเอเชียมีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมุ่งสร้างความร่วมมือในวงกว้างทั้งทวีปเอเชีย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ซึ่งจะทำให้ภูมิภาคเอเชียแข็งแกร่งและเป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็งสำหรับภูมิภาคอื่น ๆ เอซีดีได้มีการประชุมครั้งแรกเมื่อ 18-19 มิถุนายน 2545 โดยมีผู้แทนระดับรัฐมนตรีจาก 18 ประเทศเข้าร่วม ที่ประชุมได้แบ่งกรอบความร่วมมือเป็น 2 มิติ ได้แก่ มิติการหารือ (dialogue dimension) และมิติโครงการความร่วมมือ (project dimension) เช่น การท่องเที่ยว ความมั่นคงทางพลังงาน และการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Market)

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ACE (ASEAN Centre for Energy)

ศูนย์พลังงานอาเซียน

" จัดตั้งขึ้นที่กรุงจาการ์ตา เมื่อเดือนมกราคม 2542 มีหน้าที่ในการแสวง หาความร่วมมือระหว่างสมาชิกอาเซียนและกับประเทศนอกภูมิภาคในการศึกษา วิจัยและดำเนินโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาด้านพลังงาน "

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ACF (ASEAN Cultural Fund)

กองทุนวัฒนธรรมอาเซียน

จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นกองทุนสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม/โครงการความ ร่วมมือของอาเซียนทางด้านวัฒนธรรมและสนเทศ โดยในปี พ.ศ. 2521 รัฐบาลญี่ปุ่นได้บริจาคเงินจำนวน 5,000 ล้านเยน หรือประมาณ 25 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้แก่กองทุนฯ เพื่อนำดอกผลไปใช้ในการสนับสนุนโครงการ/กิจกรรมความร่วมมือต่าง ๆ

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ACMECS (Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy)

ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี ? เจ้าพระยา ? แม่โขง

ACMECS หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 1 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการ ลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเปิดกว้างให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย * เวียดนามร่วมเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 สถานะล่าสุด ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุมรัฐมนตรี ACMECS อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับ Development Partners (ผู้แทนจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย) ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง สมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศได้ร่วมกันแสดงความเป็น เอกภาพ โดยยืนยันเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ACMECS อย่าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อผู้แทนของ Development Partners รวมทั้งมีการหารือถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการระหว่างกันอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ยังสามารถมีข้อสรุปที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกลไกการประสานงานระหว่างกันซึ่งจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมความร่วมมือของ ACMECS มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป * ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ACP (Africa, Caribean and Pacific Countries)

กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคแอฟริกา หมู่เกาะในแคริบเบียน และแปซิฟิก

ซึ่งได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าจากสหภาพยุโรป

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ACS (ASEAN Committee in Seoul)

คณะกรรมการอาเซียนประจำกรุงโซล

ประกอบด้วยเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนประจำกรุงโซล มีหน้าที่ในการประสานผลประโยชน์และเป็นกลไกกลางของอาเซียนในการมีปฏิสัมพันธ์กับสาธารณรัฐเกาหลีที่กรุงโซล

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ACT (ASEAN Committee in Tokyo)

คณะกรรมการอาเซียนประจำกรุงโตเกียว

ประกอบด้วยเอกอัครราชทูตอาเซียน 10 ประเทศซึ่งประจำที่กรุง โตเกียว มีการหารือเป็นประจำทุก 1-2 เดือน หรือตามความจำเป็น

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AD (Anti-dumping duty)

ภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดที่เรียกเก็บจากผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เนื่องจากผู้ส่งออกในต่างประเทศได้ส่งสินค้านั้นเข้ามา เพื่อประโยชน์ในทางพาณิชย์ในราคาที่ต่ำกว่าราคาจำหน่ายในประเทศของตน หรือในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ADB (Asian Development Bank)

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย

ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 มีสมาชิกทั้งหมด 59 ประเทศ (สถานะเมื่อ เดือนตุลาคม 2543) แบ่งเป็นประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 43 ประเทศ (รวมทั้งไทย) และประเทศที่อยู่นอกภูมิภาคอีก 16 ประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ADF (ASEAN Development Fund)

กองทุนเพื่อการพัฒนาอาเซียน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ADPC (Asian Development Preparedness Center)

ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AEBF (Asia-Europe Business Forum)

สภาธุรกิจเอเชีย-ยุโรป

เป็นกลไกหนึ่งภายใต้ความร่วมมืออาเซม(ASEM) ประกอบด้วยผู้แทนจากภาคเอกชนของประเทศสมาชิกอาเซม เริ่มดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2540

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AEC(ASEAN Economic Community)

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AECC(ASEAN Economic Community Council)

คณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AECF (Asia-Europe Cooperation Framework)

กรอบความร่วมมือเอเชีย-ยุโรป

เป็นเอกสารที่กำหนดแนวทางความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมในกรอบอาเซม ซึ่งได้รับรองในที่ประชุมผู้นำอาเซม ครั้งที่ 2 ที่กรุงลอนดอน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AEETC (Asia-Europe Environmental Technology Centre)

ศูนย์เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมเอเชีย-ยุโรป

เป็นกลไกหนึ่งภายใต้อาเซม เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศสมาชิก

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AEGDM (ASEAN Experts Group on Disaster Management)

การประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญของอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AEM (ASEAN Economic Ministers Meeting)

การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน

เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีพาณิชย์หรือรัฐมนตรีด้านการค้าต่างประ- เทศ ปกติจัดขึ้นปีละครั้งประมาณเดือนกันยายน/ตุลาคมของทุกปี เพื่อหารือ ทบทวนและพิจารณากำหนดแนวทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AEMM (ASEAN-EU Ministerial Meeting)

การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน-สหภาพยุโรป

เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิก อาเซียน 10 ประเทศ กับรัฐมนตรีต่างประเทศของสหภาพยุโรป 15 ประเทศ จัดขึ้นทุก 18-24 เดือน เพื่อหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็นทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AERA (Accelerating Economic Recovery in Asia)

โครงการเร่งรัดการฟื้นฟูเศรษฐกิจในเอเชีย

(สำหรับประเทศไทย) เป็นโครงการที่สหรัฐอเมริกาได้ประกาศในระหว่างการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 6 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2541 ที่จะให้ความช่วยเหลือประเทศในเอเชีย 3 ประเทศที่ประสบภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ คือ สาธารณรัฐเกาหลี อินโดนีเซีย และไทย

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AEVG (Asia-Europe Vision Group)

กลุ่มวิสัยทัศน์เอเชีย-ยุโรป

เป็นกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งจัดตั้งภายหลังจากการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป (อาเซม) ครั้งที่ 2 ที่กรุงลอนดอน เพื่อระดมความคิดเกี่ยวกับอนาคตของกระบวนการอาเซม

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AEY (ASEAN Environment Year)

ปีสิ่งแวดล้อมอาเซียน

กำหนดให้มีขึ้นทุก 3 ปี เพื่อสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้กับ ประชาชนทุกระดับในสังคม รวมทั้งส่งเสริมความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม แก่สาธารณชนในการนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AF (ASEAN Foundation)

มูลนิธิอาเซียน

จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการสร้าง จิตสำนึกของความเป็นอาเซียนในหมู่ประชาชน และเพื่อให้การสนับสนุนกิจกรรม/โครงการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกอาเซียนอย่างเท่าเทียมกัน มีสำนักงานอยู่ที่กรุงจาการ์ตา

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AFAS (ASEAN Framework Agreement on Services)

กรอบความตกลงของอาเซียนว่าด้วยการบริการ

มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการเปิดเสรีการค้าบริการระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AFDM (ASEAN Finance and Central Bank Deputies Meeting)

การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AFDM+3 (ASEAN Finance and Central Bank Deputies + 3 (China, Japan and Republic of Korea))

การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียนกับผู้แทนจากจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AFMM (ASEAN Finance Ministers Meeting)

การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน

จัดขึ้นปีละครั้ง ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2540 ต่อมาได้มีการจัดการประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนกับญี่ปุ่น (AFMM + Japan) เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจและความช่วยเหลือที่ญี่ปุ่นให้แก่อาเซียน อาทิ แผนมิยาซาวา ควบคู่กันไปด้วย

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AFMM+3 (ASEAN Finance Minister + 3 (China, Japan and the Republic of Korea) Meeting)

การประชุมร่วมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนกับผู้แทนจากจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี

มีการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 ในช่วงการประชุม ประจำปีของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ที่กรุงมะนิลา และได้ ตกลงในหลักการที่จะจัดเป็นประจำทุกปี เพื่อหารือสถานการณ์การเงินและเศรษฐกิจในภูมิภาค และร่วมมือหามาตรการเพื่อป้องกันและแก้ไขวิกฤตการณ์การเงินในภูมิภาค ผลงานที่สำคัญคือ ข้อตกลงริเริ่มที่เชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative)

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AFTA (ASEAN Free Trade Area)

เขตการค้าเสรีอาเซียน

จัดตั้งขึ้นตามมติของที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 เพื่อส่งเสริม การค้าเสรีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยให้มีการลดอัตราภาษีศุลกากรที่เท่ากันตามระยะเวลาที่กำหนด เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 โดยให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ลดอัตราภาษีศุลกากรให้เหลือร้อยละ 0-5 ภายในปี พ.ศ. 2546 และมีระยะเวลาผ่อนผันสำหรับประเทศสมาชิกใหม่อีก 4 ประเทศ ตามช่วงเวลาก่อน/หลังที่เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AFTA Council (ASEAN Free Trade Area Council)

คณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน

เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีคลัง เพื่อหารือและติดตามการดำเนินงาน ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ปกติจะจัดขึ้นประมาณปีละครั้ง ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AFTA-CER (ASEAN Free Trade Area - Australia-New Zealand Closer Economic Relations Trade Agreement (ANZCERTA or CER))

ความร่วมมือระหว่างเขตการค้าเสรีอาเซียนและกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์

เป็นความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน ความร่วมมือทางวิชาการ ด้านศุลกากร การขนส่ง การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านมาตรฐานและการรับรองระหว่างกัน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AFTA-MERCOSUR (ASEAN Free Trade Area - Mercado Común del Sur (Southern Common Market))

ความร่วมมือระหว่างเขตการค้าเสรีอาเซียนกับตลาดร่วมอเมริกาใต้

ประกอบด้วยประเทศอาร์เจนตินา บราซิล อุรุกวัย ปารากวัย โดยความร่วมมือในชั้นนี้เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในเรื่องการรวมตัวทางเศรษฐกิจของแต่ละฝ่าย

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AFTA-NAFTA (ASEAN Free Trade Area - North America Free Trade Area)

ความร่วมมือระหว่างเขตการค้าเสรีอาเซียนกับเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ

ซึ่งประกอบด้วยสหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก โดยเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในเรื่องการจัดตั้ง เขตการค้าเสรีของแต่ละฝ่าย

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AHIA (ASEAN Heads of Investment Agencies)

การประชุมหัวหน้าหน่วยงานด้านการลงทุนของอาเซียน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AIA (ASEAN Investment Area)

เขตการลงทุนอาเซียน

จัดตั้งขึ้นตามกรอบความตกลงว่าด้วยเขตลงทุนอาเซียน ที่ลงนามเมื่อ ปี พ.ศ. 2541 เพื่อส่งเสริมให้มีภาวะการลงทุนที่โปร่งใสและเสรีในอาเซียนในอันที่จะดึงดูดการลงทุนจากภายในและภายนอกภูมิภาค โดยให้ประเทศสมาชิกเปิดให้มีการลงทุนทางอุตสาหกรรม และให้มี การประติบัติเยี่ยงคนชาติแก่นักลงทุนอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2553 และแก่นักลงทุนทั่วไปภายในปี พ.ศ. 2563 โดยครอบคลุมการลงทุนโดยตรง ทั้งหมดในสาขาอุตสาหกรรมการผลิต เกษตร ประมง ป่าไม้ และเหมืองแร่ รวมทั้งการบริการที่เกี่ยวเนื่องกับสาขาการผลิตดังกล่าว ยกเว้นการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AIA Council (ASEAN Investment Area Council)

คณะมนตรีเขตการลงทุนอาเซียน

" เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีที่ดูแลงานด้านการส่งเสริมการลงทุน เพื่อกำหนดนโยบายและกำกับการดำเนินงานจัดตั้งเขตการลงทุน อาเซียน ปกติมีการประชุมปีละครั้ง "

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AICO (ASEAN Industrial Cooperation Scheme)

โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมอาเซียน

เป็นมาตรการเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัตถุดิบการผลิตในรูปสินค้าสำเร็จรูป/กึ่งสำเร็จรูป เพื่อใช้ในการผลิตทางอุตสาหกรรมระหว่างบริษัทที่ตั้งอยู่ในประเทศอาเซียน อันจะเป็นการสนับสนุนการแบ่งกันผลิตและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในอาเซียน โดยจะต้องเป็นความร่วมมือตั้งแต่สองประเทศขึ้นไป และมีคนชาติประเทศสมาชิกอาเซียนมีหุ้นส่วนอยู่ในแต่ละบริษัทอย่างน้อยร้อยละ 30 สินค้าที่ได้รับอนุมัติให้อยู่ในโครงการจะได้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรในอัตราร้อยละ 0-5 ในทันที โดยไม่ต้องรอให้เขตการค้าเสรีอาเซียนมีผลบังคับใช้

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AIJCC (ASEAN-India Joint Cooperation Committee)

คณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน-อินเดีย

เป็นการประชุมระดับอธิบดี จัดขึ้นทุก ๆ 18-24 เดือน โดยอินเดียและประเทศผู้ประสานงานของอาเซียนสลับกันเป็นเจ้าภาพ เพื่อหารือและกำกับดูแลความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับอินเดีย

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AIPO (ASEAN Inter-Parliamentary Organization)

องค์การรัฐสภาอาเซียน

" เป็นเวทีการประชุมของผู้แทนรัฐสภาของประเทศสมาชิกอาเซียน จัดขึ้น เป็นประจำทุกปี "

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AJF (ASEAN-Japan Forum)

การประชุมอาเซียน-ญี่ปุ่น

" เป็นการประชุมระดับปลัดกระทรวงฯ เดิมจัดขึ้นเป็นประจำทุก ๆ 18-24 เดือน ต่อมาได้ตกลงกันที่จะจัดขึ้นปีละครั้ง เพื่อหารือเกี่ยวกับ ความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายในทุกด้าน "

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AJS (ASEAN-JAPAN SUMMIT)

การประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น

เป็นการประชุมระหว่างผู้นำอาเซียนและนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ซึ่งในหลักการจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2540

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AKBC (ASEAN-ROK Business Council)

สภาธุรกิจอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี

จัดตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2534

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ALADI (Asociaci?n Latinoamericana de Integraci?n)

สมาคมเพื่อการบูรณาการแห่งภูมิภาคลาตินอเมริกา

ก่อตั้งเมื่อเดือนสิงหาคม 2523 ประเทศสมาชิกประกอบด้วย อาร์เจนตินา บราซิล เม็กซิโก ชิลี โคลัมเบีย เปรู อุรุกวัย เวเนซุเอลา โบลิเวีย เอกวาดอร์ และปารากวัย

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ALBA (Agreement for the Application of the Bolivarian Alternative for the Peoples of our America and the People’s Trade Agreements)

ความตกลงอัลบา

เกิดขึ้นจากแนวความคิดของประธานาธิบดี Hugo Cha'vez แห่งเวเนซุเอลาหลังประกาศถอนตัวจากการเป็นสมาชิกประชาคมแอนเดียนเพื่อแสดงความไม่พอใจที่โคลัมเบียและเปรูจัดทำความตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐฯ ข้อตกลง ALBA จึงเป็นทางเลือกในการจัดทำความตกลงทางการค้าตามแนวสังคมนิยมแทนการจัดทำเขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกา (FTAA) ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 3 ประเทศ ได้แก่ เวเนซุเอลา คิวบา และโบลิเวีย

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AMAF (ASEAN Ministerial Meeting on Agriculture and Forestry)

การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้

จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อกำหนดนโยบายและติดตามความร่วมมือด้านเกษตรและป่าไม้ของอาเซียน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AMBDC (ASEAN-Mekong Basin Development Cooperation)

ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอาเซียน-ลุ่มน้ำโขง

เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ และจีน เพื่อพัฒนาลุ่มน้ำโขง

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AMEICC (AEM-MITI Economic and Industrial Cooperation Committee)

คณะกรรมการความร่วมมือทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น

เป็นกรอบการหารือระหว่างรัฐมนตรีเศรษฐกิจของอาเซียนกับกระทรวงการค้าต่างประเทศและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น จัดประชุมครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2541

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AMEM (ASEAN Ministers on Energy Meeting)

การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน

จัดขึ้นปีละครั้ง เพื่อกำหนดแนวนโยบายในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสมาชิกอาเซียนด้านพลังงาน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AMM (ASEAN Ministerial Meeting)

การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน

" เป็นการประชุมประจำปีของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน โดยประเทศสมาชิกอาเซียนที่เป็นประธานคณะกรรมการประจำอาเซียนจะเป็น เจ้าภาพ ส่วนใหญ่จะจัดการประชุมในช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี "

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AMMDP (ASEAN Ministers Meeting on Development Planning)

การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการวางแผนการพัฒนา

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AMME (ASEAN Ministerial Meeting on the Environment)

การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม

จัดขึ้นเป็นประจำทุก 3 ปี เพื่อหารือ กำหนดนโยบาย และติดตามผลความคืบหน้าของความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AMMH (ASEAN Ministerial Meeting on Haze)

การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนเกี่ยวกับปัญหาหมอกควัน

" จัดขึ้นตามความจำเป็นและด้วยความเห็นชอบของทุกประเทศสมาชิก เพื่อติดตามความคืบหน้าของการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ อาเซียนด้านปัญหาหมอกควัน "

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AMMRDPE (ASEAN Ministers' Meeting on Rural Development and Poverty Eradication)

การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AMMST (ASEAN Ministerial Meeting on Science and Technology)

การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

" จัดขึ้นเป็นประจำทุก 3 ปี เพื่อหารือ กำหนดนโยบาย และติดตามผลความคืบหน้าของการดำเนินงานความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยในช่วงกลางระหว่างสามปีดังกล่าวจะมีการประชุม รัฐมนตรีอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างไม่เป็นทางการด้วย "

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AMMTC (ASEAN Ministerial Meeting on Transnational Crime)

การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AMRI (ASEAN Ministers Responsible for Information)

การประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน

เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีที่รับผิดชอบงานทางด้านสารนิเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน จัดขึ้นทุก ๆ 2 ปี

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AMTA (Agency for Coordinating Mekong Tourism Activities)

ศูนย์ประสานงานโครงการด้านการท่องเที่ยวของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ANC (ASEAN-New Delhi Committee)

คณะกรรมการอาเซียนประจำกรุงนิวเดลี

" ประกอบด้วยเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนประจำกรุง นิวเดลี มีหน้าที่ในการประสานผลประโยชน์และเป็นกลไกกลางของอาเซียนในการมีปฏิสัมพันธ์กับอินเดียที่กรุงนิวเดลี "

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ANZAC Day (Australia New Zealand Army Corps Day)

วันที่ระลึกทหารผ่านศึกออสเตรเลียและนิวซีแลนด์

เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2458 หน่วยปฏิบัติการร่วมของกองทัพบกออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้ยกพลขึ้นบกบนคาบสมุทรกาลิโปลี (Gallipoli) ช่องแคบดาร์ดาแนล (Dardanelles) ประเทศตุรกีเพื่อเปิดเส้นทางเดินเรือให้กับฝ่ายสัมพันธมิตรไปสู่ทะเลดำในสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้ทหารออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทั้งสองประเทศจึงถือเอาวันที่ 25 เมษายนของทุก ๆ ปี เป็นวันที่ระลึกและจัดพิธีไว้อาลัยแก่ทหารผ่านศึกในสมรภูมิครั้งนั้นและทหารผ่านศึกที่เสียชีวิตในสมรภูมิอื่น ๆ ด้วย

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ANZECP (ASEAN-New Zealand Economic Cooperation Programme)

โครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับนิวซีแลนด์

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ANZJMC (ASEAN-New Zealand Joint Management Committee)

คณะกรรมการบริหารร่วมอาเซียน-นิวซีแลนด์

ประกอบด้วยผู้แทนระดับอธิบดีของอาเซียนและนิวซีแลนด์ ประชุมกัน ปีละครั้ง เพื่อทบทวนติดตามและนำเสนอโครงการความร่วมมือระหว่างกัน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ANZUS (Australia-New Zealand-US)

สนธิสัญญาป้องกันร่วมกันระหว่างออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์-สหรัฐอเมริกา

" โดยตกลงให้มีการช่วยเหลือประเทศสมาชิกเมื่อถูกคุกคามจากประเทศนอกภาคี ปัจจุบัน ANZUS ยังคงสถานะอยู่แต่ไม่มีการดำเนินการใด ๆ (non-operational) เนื่องจากความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างสหรัฐอเมริกากับนิวซีแลนด์ยุติลง โดยนิวซีแลนด์ยังไม่ละทิ้งสนธิสัญญา ดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าอาจจะมีการรื้อฟื้นขึ้นอีก "

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

APC (ASEAN Promotion Centre on Trade, Investment and Tourism (ASEAN Centre))

ศูนย์ส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวอาเซียน (ศูนย์อาเซียน)

" ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2524 ภายใต้ความตกลงระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศสมาชิกอาเซียน มีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงโตเกียว เพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาเซียนไปยังญี่ปุ่น ส่งเสริมการลงทุนของญี่ปุ่นในอาเซียน และส่งเสริมนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นให้เดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศสมาชิก อาเซียน "

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

APC (Asia-Pacific Inter-Governmental Consultations on Refugees Displaced Persons and Migrants)

กรอบการหารือระหว่างรัฐบาลในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วย ผู้ลี้ภัย ผู้พลัดถิ่น และผู้โยกย้ายถิ่น

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

APEC (Asia Pacific Economic Cooperation)

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก

" เป็นกระบวนการความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2532 มีเป้าหมายในการเปิดการค้าเสรีและการลงทุน ภายในปี พ.ศ. 2553 สำหรับสมาชิกพัฒนาแล้ว และปี พ.ศ. 2563 สำหรับสมาชิกกำลังพัฒนา ขณะนี้มีสมาชิกประกอบด้วย ออสเตรเลีย บรูไน ดารุสซาลาม แคนาดา ชิลี จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกีนี เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ จีนไทเป ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม โดยประเทศไทยเป็นสมาชิกก่อตั้ง "

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

APJSCC (ASEAN-Pakistan Joint Sectoral Cooperation Committee)

คณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือเฉพาะด้านอาเซียน-ปากีสถาน

เป็นการประชุมระดับอธิบดี จัดขึ้นทุก ๆ 18-24 เดือน โดยปากีสถานและประเทศผู้ประสานงานของอาเซียนสลับกันเป็นเจ้าภาพ เพื่อหารือและกำกับดูแลความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับปากีสถาน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

APM (Anti-Personnel Mines)

ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

APO

Asian Productivity Organization

องค์การเพิ่มผลผลิตแห่งเอเซีย

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

APSC

แผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

เป็นเอกสารที่รวบรวมรายการกิจกรรมต่างๆ ที่รัฐสมาชิกอาเซียนจะทำร่วมกันเพื่อสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนภายในปี 2558 แผนงานฯ ได้รับการรับรองโดยผู้นำในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ชะอำ หัวหิน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 โดยแผนงาน มีวิสัยทัศน์ 3 ประการ ให้อาเซียนเป็น(1) ประชาคมที่มีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน (2)เป็นประชาคมที่สงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้าน และ (3)เป็นประชาคมที่มีพลวัตรและร่วมมือปฎิสัมพันธ์กับโลกภายนอก

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ARCBC (ASEAN Regional Centre for Biodiversity Conservation)

ศูนย์อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของภูมิภาคอาเซียน

จัดตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป มีสำนักงานเลขาธิการตั้งอยู่ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ARCF (ASEAN-Russia Cooperation Fund)

กองทุนความร่วมมืออาเซียน-รัสเซีย

รัสเซียตกลงที่จะออกเงินสมทบกองทุนครั้งแรกเป็นจำนวนเงิน 5 แสนเหรียญสหรัฐ

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ARF (ASEAN Regional Forum)

การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

" เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรี ต่างประเทศของประเทศคู่เจรจาของอาเซียน (Dialogue Partners) ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย จีน รัสเซีย และสหภาพยุโรป ผู้สังเกตการณ์ (Observers) ของอาเซียน ได้แก่ ปาปัวนิวกินี และประเทศอื่น ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น มองโกเลียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดย ARF ได้ใช้ ""geographical footprint"" หรือขอบเขตทางภูมิศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อประกอบการพิจารณารับสมาชิกใหม่ ปัจจุบัน ARF มีประเทศสมาชิก 22 ประเทศ กับ 1 กลุ่ม (สหภาพยุโรป) โดยมีการประชุมเป็นประจำทุกปีในช่วงต่อเนื่องกับการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting - AMM) เป็นเวทีปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงระดับพหุภาคีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และพัฒนาแนวทางการ ดำเนินการทางการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) ที่มุ่ง ป้องกันการเกิดและขยายตัวของความขัดแย้ง โดยใช้มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measures - CBMs) ระหว่างกัน ทั้งนี้ ARF มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2537 และไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ARF ระดับรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 นอกจากการประชุม ARF ประจำปีแล้วยังมีการดำเนินกิจกรรมระหว่างปี (Inter-sessional Activities) ในสองระดับ คือ กิจกรรมที่เป็นทางการ (Track I) และกิจกรรมที่ไม่เป็นทางการ (Track II) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับสถาบันวิชาการของ ประเทศผู้เข้าร่วม ARF ได้แก่ (1) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมกลุ่มสนับสนุนว่าด้วยมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจของ ARF (ARF Inter-sessional Support Group on Confidence Building Measures - ARF ISG on CBMs) (2) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการบรรเทาภัยพิบัติของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Disaster Relief - ARF ISM on DR) (3) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการรักษาสันติภาพของ ARF (Inter-sessional Meeting on Peace-keeping Operations - ARF ISM on PKO) และ (4) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการประสานและร่วมมือด้านการค้นหาและกู้ภัยของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Search and Rescue Coordination - ARF ISM on SAR) "

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ARJCC (ASEAN-Russia Joint Cooperation Committee)

คณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน-รัสเซีย

เป็นการประชุมระดับอธิบดี จัดขึ้นทุก ๆ 18-24 เดือน มีคณะทำงาน 2 คณะ คือ (1) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ (2) ด้านเศรษฐกิจ

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASC (APEC Study Centers)

ศูนย์ศึกษาเอเปค

มีการจัดตั้งศูนย์ศึกษาเอเปคในแต่ละประเทศสมาชิก 15 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคด้วยการศึกษา การพัฒนาฝีมือแรงงาน และอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนความรู้และวัฒนธรรม ตลอดจนส่งเสริมความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างสมาชิกเอเปคในภูมิภาค ทั้งนี้ ศูนย์ศึกษาเอเปคได้มีบทบาทสำคัญในกิจกรรมต่าง ๆ ของประเทศสมาชิก เช่น กิจกรรมการประเมินผลการดำเนินความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการของเอเปค เป็นต้น

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASC (ASEAN Standing Committee)

คณะกรรมการประจำอาเซียน

" ประกอบด้วยอธิบดีกรมอาเซียนของทุกประเทศสมาชิก มีหน้าที่ ควบคุม ดูแล ติดตามการดำเนินงานของกลไกและกิจกรรมต่าง ๆ ของอาเซียน ปกติจะประชุมปีละ 6 ครั้ง เป็นการประชุมในนามของ รัฐมนตรีต่างประเทศ ในช่วงกลางระหว่างการประชุมประจำปีของ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน "

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASC PoA (ASEAN Security Community Plan of Action)

แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASCC

ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASCH&N (ASEAN Sub-Committee on Health and Nutrition)

คณะอนุกรรมการอาเซียนด้านสาธารณสุขและโภชนาการ

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASCLA (ASEAN Sub-Committee on Labour Affairs)

คณะอนุกรรมการอาเซียนด้านแรงงาน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASCOE (ASEAN Sub-Committee on Education)

คณะอนุกรรมการอาเซียนด้านการศึกษา

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASCOPE (ASEAN Council on Petroleum)

คณะมนตรีอาเซียนด้านปิโตรเลียม

เป็นกลไกการหารือระหว่างวิสาหกิจแห่งชาติของประเทศสมาชิกอาเซียนที่ประกอบกิจการด้านปิโตรเลียม มีการประชุมปีละ 2-3 ครั้ง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและแสวงหาความร่วมมือระหว่างกัน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASEAN (Association of South-East Asian Nations)

สมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน

จัดตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 เพื่อร่วมมือและส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ ความเจริญทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์และการบริหารในภูมิภาค โดยมีสมาชิกเริ่มแรก 5 ประเทศ คือ อินโดนิเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย ต่อมาบรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้าเป็นสมาชิกประเทศที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2527 เวียดนามเป็นสมาชิกประเทศที่ 7 ในปี พ.ศ. 2538 ลาวและพม่าเข้าเป็นสมาชิกพร้อมกันในปี พ.ศ. 2540 และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับสุดท้ายหรือประเทศที่ 10 เมื่อปี พ.ศ. 2542

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASEAN Award

รางวัลอาเซียน

" แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทบุคคลและประเภทองค์กร เพื่อ ยกย่องและให้การรับรองผลงานที่มีความโดดเด่นในการส่งเสริมและการพัฒนาความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียน "

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASEAN Charter

กฎบัตรอาเซียน

เป็นความตกลงระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ที่จะให้สถานะทางกฎหมายหรือนิติฐานะแก่อาเซียน และวางกรอบโครงสร้างองค์กรใหม่เพื่อทำให้อาเซียนเป็นหน่วยงานที่ยึดมั่นมากยิ่งขึ้นต่อกติกาและกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ประเทศสมาชิกร่วมกันกำหนดขึ้น อันจะนำมาซึ่งการเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียนยังมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางของความร่วมมือมากยิ่งขึ้นด้วยการจัดตั้งองค์กรใหม่ๆ เพื่อปกป้องและส่งเสริมผลประโยชน์ของประชาชนอาเซียน เช่น องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ร่วมลงนามกฎบัตรฯ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASEAN Committees in Third Countries

คณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่สาม

เป็นกลไกประสานงานของอาเซียนที่จัดตั้งขึ้นในเมืองหลวงของประเทศที่สาม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเทศคู่เจรจาของอาเซียน คณะกรรมการดังกล่าว ประกอบด้วยเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนประจำประเทศนั้น ๆ

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASEAN Community

ประชาคมอาเซียน

ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 เมื่อเดือนตุลาคม 2547 เกาะบาหลี ได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2 เห็นชอบให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในสามด้านหลักภายในปี พ.ศ. 2563 ได้แก่ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASEAN Content

สัดส่วนวัตถุดิบภายในอาเซียน

หมายถึง สินค้าซึ่งมีสัดส่วนของวัตถุดิบที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศสมาชิกอาเซียน อย่างน้อยร้อยละ 40

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASEAN Dialogue Partners

คู่เจรจาอาเซียน

" ประกอบด้วย 9 ประเทศ 1 กลุ่มประเทศ และ 1 องค์การระหว่างประเทศ คือ ออสเตรเลีย แคนาดา จีน อินเดีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี นิวซีแลนด์ รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ประชาคมยุโรป และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ โดยคู่เจรจาเหล่านี้ (ยกเว้นโครงการพัฒนาแห่งสห- ประชาชาติ) จะเข้าร่วมการประชุม PMC ด้วย "

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASEAN SOM (ASEAN Senior Officials Meeting)

การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน

เป็นการประชุมระดับปลัดกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก เพื่อติดตามและเสนอนโยบายด้านการเมือง ความมั่นคง และเรื่องอื่น ๆ ต่อรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASEAN Secretariat

สำนักเลขาธิการอาเซียน

" ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา มีหน้าที่ให้การสนับสนุนงานการประชุม ประสานงาน และเสนอข้อคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ และมีเลขาธิการอาเซียนเป็น หัวหน้าสำนักงาน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ทั้งนี้ นายแผน วรรณเมธี เป็นคนไทยคนเดียวที่เคยดำรงตำแหน่งนี้ ระหว่าง ปี พ.ศ. 2527-2529 "

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASEAN Sectoral Dialogue Partners

คู่เจรจาเฉพาะด้านของอาเซียน

" ปัจจุบันมีเพียงประเทศเดียว คือ ปากีสถาน ทั้งนี้ คู่เจรจาเฉพาะด้าน มิได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุม PMC "

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASEAN Special SOM (ASEAN Special Senior Officials Meeting)

การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนสมัยพิเศษ

เป็นการประชุมในลักษณะเดียวกับการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน แต่มีผู้แทนฝ่ายทหารของประเทศสมาชิกเข้าร่วมการประชุมด้วย เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2535

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASEAN Summit (ASEAN Heads of State/Government Meeting)

การประชุมสุดยอดอาเซียน

เป็นการประชุมระดับผู้นำรัฐบาลอาเซียน ปัจจุบันมีการประชุมเป็นประจำทุกปี โดยประเทศสมาชิกอาเซียนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASEAN Troika

กลุ่มผู้ประสานงานของอาเซียน

" เป็นข้อเสนอของไทยในการประชุมสุดยอดอย่างไม่เป็นทางการ ณ กรุงมะนิลา เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2542 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก ผู้นำประเทศ/รัฐบาลอาเซียน เป็นกลไกเฉพาะกิจในระดับรัฐมนตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาเซียนสามารถแก้ไขและร่วมมือกันได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทันท่วงทีและใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ในเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อสันติภาพ และในเรื่องที่อาเซียนมีความห่วงกังวลร่วมกันว่ามี แนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาค ทั้งนี้ กลุ่มผู้ประสานงานอาเซียนจะปฏิบัติงานโดยยึดหลักการที่สำคัญของอาเซียน คือ หลักฉันทามติ และการไม่แทรกแซงกิจการภายใน กลุ่มผู้ประสานงานอาเซียนประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศที่เป็นประธานคณะกรรมการประจำของ อาเซียนในปัจจุบัน อดีต และอนาคต "

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASEAN Vision 2020

วิสัยทัศน์อาเซียน พ.ศ. 2563

เป็นเอกสารซึ่งที่ประชุมสุดยอดอาเซียนที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2540 ได้ให้ความเห็นชอบ เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นและพันธกรณีของอาเซียนที่จะนำประชาชนในภูมิภาคนี้ไปสู่ (1) การเป็นภูมิภาคที่มีสันติภาพและเสถียรภาพ (2) ความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งด้วยการรวมตัวทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น (3) การเป็นสังคมที่เปิดกว้าง มีความเป็นปึกแผ่นและเอื้ออาทรต่อกัน และ (4) การกระชับความสัมพันธ์กับคู่เจรจาและโลกภายนอก บนพื้นฐานของความเป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกันและมีความเคารพซึ่งกันและกัน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASEAN+3 (ASEAN - China, Japan and the Republic of Korea Relationship)

ความสัมพันธ์อาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และสาธาณรัฐเกาหลี

เป็นกลไกความร่วมมือใหม่ที่เริ่มมีขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 ซึ่งผู้นำของ อาเซียน จีน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี ได้พบกันเป็นครั้งแรกที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยในปี พ.ศ. 2542 ผู้นำอาเซียน+3 ได้ออกแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (Joint Statement on East Asia Cooperation) เป็นหลักการพื้นฐานของการเสริมสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASEAN-CCI (ASEAN Chambers of Commerce and Industry)

สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมอาเซียน

เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างหอการค้าและอุตสาหกรรมของประเทศสมาชิกอาเซียน มีการประชุมประจำปี ๆ ละ 1-2 ครั้ง ในช่วงประมาณเดือนเมษายนและตุลาคมของทุกปี โดยหารือเรื่องความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างภาคเอกชนในอาเซียนและความร่วมมือกับภาคเอกชนนอกภูมิภาค

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASEAN-Canada JCC (ASEAN-Canada Joint Cooperation Committee)

คณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน-แคนาดา

เป็นการประชุมระดับอธิบดี จัดขึ้นทุกปี เพื่อทบทวน ติดตามและขยายความร่วมมือระหว่างกันในด้านต่าง ๆ

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASEAN-EC JCC (ASEAN-European Community Joint Cooperation Committee)

คณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน-ประชาคมยุโรป

" จัดตั้งขึ้นตามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประชาคมยุโรป (ASEAN-EC Cooperation Agreement) ที่ลงนามกันเมื่อปี พ.ศ. 2523 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาระหว่างสองฝ่าย โดยมีคณะอนุกรรมการ 6 คณะ ได้แก่ ด้าน การค้า เศรษฐกิจอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และยาเสพติด "

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASEAN-EU SOM (ASEAN-EU Senior Officials Meeting)

การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน-สหภาพยุโรป

เป็นการประชุมระดับปลัดกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป จัดขึ้นทุก 12-18 เดือน เพื่อหารือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASEAN-UN Summit

การประชุมผู้นำอาเซียน-สหประชาชาติ

เป็นการประชุมระหว่างหัวหน้ารัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียนกับเลขาธิการสหประชาชาติ มีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2543 ที่กรุงเทพฯ ในช่วงการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASEAN-US Dialogue

การประชุมอาเซียน-สหรัฐอเมริกา

" เป็นการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (ปลัดกระทรวงต่างประเทศ) จัดขึ้นทุก 18 เดือน เพื่อหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ "

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASEF (Asia-Europe Foundation)

เป็นกลไกหนึ่งภายใต้อาเซม เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ วัฒนธรรม และประชาชนกับประชาชน ระหว่างประเทศสมาชิก

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASEM (Asia Europe Meeting)

การประชุมเอเชีย-ยุโรป

" เป็นการประชุมระดับผู้นำจากเอเชีย 10 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ บรูไน ดารุสซาลาม จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น ผู้นำจากยุโรป 15 ประเทศ คือ สหราช- อาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สเปน โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก เดนมาร์ก สวีเดน ไอร์แลนด์ กรีซ ฟินแลนด์ ออสเตรีย และประธานคณะกรรมาธิการยุโรป การประชุมครั้งแรกมีขึ้น ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2539 "

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASEM EMM (ASEM Economic Ministers' Meeting)

การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรป

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASEM FMM (ASEM Foreign Ministers' Meeting)

การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรป

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASEM STMM (ASEM Science and Technology Ministers' Meeting)

การประชุมรัฐมนตรีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเอเชีย-ยุโรป

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASEP (Asia-Europe Parliamentary Meeting)

การประชุมสภาเอเชีย-ยุโรป

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASF (ASEAN Science Fund)

กองทุนวิทยาศาสตร์อาเซียน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASFRB (ASEAN Food Security Reserve Board)

คณะกรรมการสำรองอาหารเพื่อความมั่นคงแห่งภูมิภาคอาเซียน

เป็นกลไกประสานด้านการสำรองอาหารเพื่อความมั่นคงของภูมิภาค จัดตั้งขึ้นตามหลักการของปฏิญญาความสมานฉันท์แห่งอาเซียน 2514

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASMC (ASEAN Specialised Meteorology Centre)

ศูนย์อุตุนิยมวิทยาอาเซียน

ตั้งอยู่ที่สิงคโปร์ ทำหน้าที่เป็นกลไกในการติดตามสภาพภูมิอากาศและสภาวะหมอกควันอันเกิดจากไฟไหม้ป่า

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASOD (ASEAN Senior Officials on Drugs Matter)

เจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านยาเสพติด

" ประกอบด้วยผู้แทนระดับปลัดกระทรวงฯ ที่รับผิดชอบงานด้าน ยาเสพติดของประเทศสมาชิกอาเซียน มีการประชุมปีละครั้ง "

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASOEN (ASEAN Senior Officials on the Environment)

เจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม

" ประกอบด้วยผู้แทนระดับปลัดกระทรวง มีหน้าที่ดูแลความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และกับประเทศและองค์กรอื่น ๆ มีการประชุมปีละครั้ง แยกเป็น 1 คณะผู้เชี่ยวชาญและ 3 คณะทำงาน ซึ่งได้แก่ (1) คณะทำงานเฉพาะกิจทางเทคนิคด้านปัญหาหมอกควัน (2) คณะทำงานอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมชายฝั่งและทางทะเล (3) คณะทำงานอาเซียนเกี่ยวกับความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อม และ (4) คณะทำงานอาเซียนด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ "

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASPC (ARF Security Policy Conference)

เวทีการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายทหารในกรอบการประชุม อาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASW (ASEAN Sub-Committee on Women)

คณะอนุกรรมการอาเซียนด้านสตรี

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ASY (ASEAN Sub-Committee on Youth)

คณะอนุกรรมการอาเซียนด้านเยาวชน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AScC (ASEAN Socio-cultural Community)

ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ATBC (Australia-Thailand Business Council)

สภาธุรกิจไทย-ออสเตรเลีย

เป็นเวทีความร่วมมือด้านธุรกิจระหว่าง 2 ประเทศ

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ATF (ASEM Trust Fund)

กองทุนอาเซม

" เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นในธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการฟื้นฟูและ การพัฒนา (World Bank) โดยได้รับการสนับสนุนจากประเทศสมาชิกอาเซม เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศในเอเชียที่ประสบกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ "

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ATFOA (ASEAN Task Force on AIDS)

คณะทำงานเฉพาะกิจของอาเซียนด้านโรคเอดส์

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ATFSSN (ASEAN Task Force on Social Safety Nets)

คณะทำงานเฉพาะกิจของอาเซียนด้านโครงข่ายรองรับทางสังคม

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ATM (ASEAN Transport Ministers Meeting)

การประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน

" จัดขึ้นปีละครั้ง เพื่อหารือและกำหนดแนวทางความร่วมมือด้านการ ขนส่งในอาเซียน อาทิ เส้นทาง ประเภท/ขนาดรถยนต์ การประกันภัยรถยนต์ ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ การตรวจทางศุลกากร การขนส่งสินค้าผ่านแดน การขนส่งสินค้าข้ามแดน และการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงอาเซียน "

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AU (African Union)

สหภาพแอฟริกา

สหภาพแอฟริกาซึ่งเป็นความร่วมมือระดับภูมิภาคที่สำคัญของทวีป แอฟริกา ได้ก่อกำเนิดมาจากองค์การเอกภาพแอฟริกา (Organization of African Unity ? OAU) เมื่อปี พ.ศ. 2545 โดยได้ปรับปรุงกฎบัตรเดิมขององค์การเอกภาพแอฟริกา ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในการจัดตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพและสามารถแทรกแซงกิจการของประเทศสมาชิกโดยผ่านกองกำลังรักษาสันติภาพ กลไกที่สำคัญของสหภาพ แอฟริกาที่เพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่งคือ ธนาคารกลาง นอกจากนี้ นโยบายสำคัญที่สหภาพแอฟริกาเน้น คือ การพัฒนาเศรษฐกิจและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกัน และได้ใช้โครงการ The New Partnership for Africa?s Development หรือ NEPAD เป็นหลักในการดำเนินการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคแอฟริกา ซึ่งมุ่งเน้นการขจัดความยากจน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AUN (ASEAN University Network)

เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน

" เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศสมาชิกอาเซียน จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2538 มีสำนักงานเลขานุการตั้งอยู่ที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี รศ. ดร.ศุภชัย ยาวะประภาษ เป็น ผู้อำนวยการบริหาร "

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

Accession

การภาคยานุวัติ

คือการที่รัฐหนึ่งเข้าไปเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งรัฐอื่น ๆ ได้วินิจฉัยตกลงก่อนแล้วและสนธิสัญญานั้นได้มีผลใช้บังคับก่อนแล้วด้วย บางที่ใช้คำ ?accession? ซึ่งตรงกับคำในภาษาฝรั่งเศสว่า ?adhésion? รัฐจะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไม่ได้ นอกจากว่าในสนธิสัญญานั้นมีบทบัญญัติยอมให้รัฐอื่นเข้ามาเป็นภาคีด้วยได้ เช่น มาตรา 4 ของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติบัญญัติไว้ว่า?(1) สมาชิกภาพในสหประชาชาติ เปิดรับบรรดารัฐอื่นๆ ทั้งหลายที่ยอมรับพันธกรณีที่ระบุไว้ในกฎบัตรปัจจุบันและองค์การสหประชาชาติพิจารณาวินิจฉัยแล้วว่า รัฐนั้น ๆ สามารถและเต็มใจที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีเหล่านั้น??(2) การรับรัฐใดๆ ดังกล่าวเข้าเป็นสมาชิกในสหประชาชาติจะเป็นผลสำเร็จก็ต่อเมื่อสมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติรับรองตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง? คือ เอกสิทธิ์ทางการทูตในการที่จะได้มีถิ่นพำนัก

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

Act on Consular Privileges and Immunities B.E. 2541

พระราชบัญญัติว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางกงสุล พ.ศ. 2541

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

Act on Diplomatic Privileges and Immunities B.E. 2527

พระราชบัญญัติว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางทูต พ.ศ. 2527

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

Ad hoc

เพื่อวัตถุประสงค์หรือความมุ่งหมายโดยเฉพาะ

เช่น คณะกรรมการการเมืองพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะ ตามที่รับมอบหมายจากสมัชชาสหประชาชาตินั้น แต่เดิมมีชื่อว่าคณะกรรมการการเมืองเฉพาะเรื่อง (Ad hoc Committee)

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

Agrément

ความเห็นชอบ

ในการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตไปประจำในประเทศใด กำหนดให้ประเทศผู้ส่งขอความเห็นชอบจากประเทศผู้รับก่อน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

Agreement

การที่รัฐที่ผู้จะไปประจำตำแหน่งในรัฐนั้นได้ตกลงเห็นชอบกับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอชื่อให้เป็นผู้แทนทางการทูต

อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ว่า1. รัฐผู้ส่งไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นที่แน่นอนว่า รัฐผู้รับได้ให้ความเห็นชอบแล้ว สำหรับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอจะแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไปยังรัฐนั้น2. รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องให้เหตุผลแก่รัฐผู้ส่งในการปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตซึ่งรอการถวายสารตราตั้งจะต้องเริ่มดำเนินการเพื่อเดินทางไปยังรัฐผู้รับในเรื่องนี้ มีตัวอย่างไม่น้อยที่รัฐผู้รับปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบด้วยเหตุผลบางอย่าง นับตั้งแต่อ้างว่า การเสนอชื่อผู้รับการแต่งตั้งได้กระทำกะทันหันเกินไป และมิได้แจ้งข้อเท็จจริงมาก่อน หรือว่าผู้ที่ได้รับการเสนอให้เป็นผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเคยกล่าวตำหนิวิพากษ์รัฐผู้รับ หรือผู้รับการเสนอชื่อมมีภรรยาเป็นชาวยิว หรือผู้รับการเสนอชื่อถือศาสนาโรมันคาทอลิก หรือผู้นั้นเคยปฏิบัติไม่ดีต่อชนชาติของรัฐผู้รับ หรือผู้นั้นในขณะนั้นกำลังอยู่ในระหว่างถูกฟ้องร้อง ถูกกล่าวหาว่าฉ้อโกง เป็นต้นกล่าวโดยย่อ agr?ment คือ การให้ความเห็นชอบของรัฐผู้รับ แก่บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อจากรัฐผู้ส่งให้เป็นผู้แทนทางการทูตนั่นเอง

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

Agreement on Commercial Navigation on Lancang-Mekong River

ความตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำโขงตอนบน

" ระหว่างไทย ลาว พม่า และจีน (มณฑลยูนนาน) ได้ลงนามเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2543 และมีผลบังคับใช้ในเดือนเมษายน 2544 "

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

Agreement on Economic and Technical Cooperation

ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

Agreement on Promotion and Protection of Investments

ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

Aide-memoire หรือ Memoire

แปลตามตัวอักษรว่า ช่วยความจำ

เป็นหนังสือโต้ตอบทางการทูตประเภทหนึ่ง คือ บันทึกสังเขปของการเจรจาที่ได้กระทำกันเสร็จสิ้นแล้ว บันทึกช่วยจำเช่นนี้ไม่มีการกล่าวนำเป็นทางการและไม่มีการลงชื่อ ซึ่งจะมอบให้แก่กันเมื่อเสร็จการเจรจากันแล้ว ความมุ่งหมายของบันทึกนี้คือ เพื่อบันทึกข้อเท็จจริงไว้เป็นหลักฐานซึ่งผู้รับบันทึกทราบดีแล้วบันทึกช่วยจำก็คือ บันทึกสรุปการสนทนาทางการทูตอย่างไม่เป็นทางการ ระหว่างผู้แทนหรือพนักงานทางการทูตกับหัวหน้าหรือพนักงานของกระทรวงการต่างประเทศ จุดประสงค์ตามที่ชื่อบ่งอยู่แล้วว่า เป็นการสรุปประเด็นต่าง ๆ ในการสนทนาเพื่อเตือนความจำนั้นเอง ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ทางการทูตจะมอบบันทึกนี้ไว้กับกระทรวงการต่างประเทศ ในบันทึกนั้นบรรทัดแรกจะระบุว่าใครเป็นผู้ส่งและใครเป็นผู้รับบันทึก ผู้ส่งบันทึกจะต้องลงชื่อย่อกำกับบันทึกไว้ด้วยบันทึกช่วยจำอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า pro memoria โดยปกติภาษาที่ใช้ใน pro memoria จะมีลักษณะถ้อยคำเป็นทางการมากกว่า aide-memoire

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

Ambassador

เอกอัครราชทูต

<b>- Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary</b> : เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม หมายถึง เอกอัครราชทูตที่รัฐผู้ส่งแต่งตั้งไปยังรัฐผู้รับ โดยมอบหมายอำนาจให้ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนของรัฐผู้ส่ง<br> ในกรณีที่เอกอัครราชทูตมิได้มีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้รับ เรียกว่า Non-resident Ambassador<br> <b>- Ambassador-Designate</b> : ว่าที่เอกอัครราชทูตประจำรัฐผู้รับ หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต แต่ยังมิได้ยื่นสาส์นตราตั้งต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ<br> <b>- Ambassador-at-Large</b> : เอกอัครราชทูตผู้แทนพิเศษ หมายถึง ผู้แทนพิเศษของกระทรวงการต่างประเทศที่มีสิทธิและสถานะเทียบเท่าเอกอัครราชทูตผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลงานและกิจการเฉพาะกิจ หรือเฉพาะเรื่องในต่างประเทศเป็นครั้งคราว<br> <b>- Ambassador attached to the Ministry of Foreign Affairs</b> : เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ หมายถึง บุคคล ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต มีภารกิจดูแลกิจการภายในของกระทรวงการต่างประเทศ ตามที่ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงการต่างประเทศ<br> <b>- Resident Ambassador</b> : เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทย หมายถึง เอกอัครราชทูตของไทยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ประจำต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ แต่ยังคงมีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้ส่ง เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทยนี้ จะเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในรัฐผู้รับเป็นครั้งคราว

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary

ผู้แทนทางการทูตในอันดับแรก หรือ หัวหน้าของสถานเอกอัครราชทูต

ตามปกตินั้นจะเรียกกันง่าย ๆ ว่า ?Ambassador? (เอกอัครราชทูต) ในสมัยก่อนเอกอัครราชทูตที่ประจำอยู่ในประเทศผู้รับจะมีตำแหน่งต่อท้ายว่า ?Ordinary? (สามัญ) ส่วนเอกอัครราชทูตที่ถูกส่งไปปฏิบัติภารกิจพิเศษ จะต่อท้ายว่า ?Extraordinary? (วิสามัญ) ต่อมาความแตกต่างดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไปหมดแล้ว ทุกวันนี้บรรดาเอกอัครราชทูตทั้งหลายจะมีตำแหน่งห้อยท้ายว่า ?Extraordinary? (วิสามัญ) ทั้งสิ้น การที่ได้รับพ่วงคำว่า ?Plenipotentiary? (ผู้มีอำนาจเต็ม) เข้าไปกับตำแหน่งอีกคำหนึ่งนั้น ย่อมหมายความว่า เอกอัครราชทูตมีอำนาจเต็มที่จะทำการเจรจาทางการทูตตามปกติใดๆ ได้ แต่การที่จะทำการเจรจาและลงนามในสนธิสัญญาได้นั้น จำเป็นที่เขาจะต้องมีอำนาจเต็มเป็นพิเศษตามปกติหรือในหลักการ เอกอัครราชทูตจะติดต่อพบปะกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประจำ เซอร์เออร์เนสท์ ซาทาว ได้เขียนไว้ในหนังสือของท่านชื่อ Guide to Diplomatic Practice ซึ่งเซอร์เนวิล แบลนด์ (Sir Neville Bland) ได้เรียบเรียงและปรับปรุงแก้ไขใหม่เป็นครั้งที่ 4 (ดู น.167) มีความตอนหนึ่งว่า?บางคราวเป็นที่เข้าใจกันว่า เอกอัครราชทูตสามารถเรียกร้องขอพบกับตัวประมุขของรัฐได้ไม่ว่าเวลาใด แต่อันที่จริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เนื่องจากราชสำนักหรือรัฐบาลที่เอกอัครราชทูตไปประจำอยู่นั้น จะวางระเบียบหรือกำหนดธรรมเนียมเข้มงวด ทำให้มีโอกาสน้อยเหลือเกินที่จะอนุญาตให้เอกอัครราชทูตไปประจำอยู่นั้น จะวางระเบียบหรือกำหนดธรรมเนียมเข้มงวด ทำให้มีโอกาสน้อยเหลือเกินที่จะอนุญาตให้เอกอัครราชทูตได้มีโอกาสเข้าพบปะพูดจากับประมุขของรัฐ อนึ่ง ในอดีตกาลมีประเทศใหญ่ ๆ เพียงไม่กี่แห่งทำการแลกเปลี่ยนเอกอัครราชทูตระหว่างกัน จึงเหลือหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตอื่น ๆ เป็นจำนวนมากที่มีตำแหน่งเรียกว่า อัครราชทูต (Ministers) เท่านั้น อย่างไรก็ดีการที่รัฐผู้ส่งจะส่งผู้แทนทางการทูตในระดับเอกอัครราชทูต (Ambassador) ไปยังรัฐผู้รับนั้นจะถือเป็นการให้เกียรติกันอย่างยิ่ง แต่ในสมัยนี้ การที่มีสถานเอกอัครราชทูตแพร่กระจายไปทั่ว ทำให้ตำแหน่งเอกอัครราชทูตถูกลดศักดิ์ศรีและความขลังลงไปมากเมื่อเทียบกับสมัยอดีตกาลเกี่ยวกับเอกอัครราชทูตนี้ ได้มีการนำเอาคำจำกัดความของตำแหน่งเอกอัครราชทูตมาพูดคุยกันบ่อยๆ เป็นคำจำกัดความของ เซอร์เฮนรี่ วอตตัน (Sir Henry Wotton) เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำเวนิส ในรัชสมียของกษัตริย์เจมส์ที่ 1 ว่า?เอกอัครราชทูต คือ บุคคลผู้ซื่อสัตย์ที่ถูกส่งไปกล่าวเท็จในต่างประเทศ เพื่อผลประโยชน์ของประเทศเขา? (?An ambassador is an honest man sent to lie abroad for the good of his country?)เล่ากันว่า เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1904 ระหว่างที่เซอร์เฮนรี่ วอตตัน เดินทางจากกรุงลอนดอนเพื่อไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตที่กรุงเวนิส ท่านได้แวะพักที่เมืองอ๊อกสเบิร์ก (Augsburg) ณ ที่นั้นท่านได้เขียนเป็นที่ระลึกไว้ในสมุดเยี่ยมของเจ้าของโรงแรมซึ่งเป็นสหายกับท่านในเชิงหยอกล้อ แต่แทนที่จะเขียนเป็นภาษาอังกฤษ กลับเขียนเป็นภาษาละตินว่า ?Legatus est vir bonus peregre missus ad mentiendum Republicae causa? ข้อความภาษาอังกฤษนั้น มีการเล่นคำว่า ?lie? ซึ่งนอกจากจะหมายความว่ากล่าวเท็จแล้ว ยังมีความหมายว่า ?พักอยู่? (Reside หรือ sojourn) ก็ได้ แต่บังเอิญคำละตินว่า ?admentiendum? มีความหมายเพียงอย่างเดียว คือ ?กล่าวเท็จ? ในไม่กี่ปีต่อมาคู่อริทางการเมืองของเซอร์เฮนรี่ได้ไปพบคำจำกัดความนี้เข้า จึงกราบทูลกษัตริย์เจมส์ให้ทรงทราบ หลักฐานประการหนึ่งอ้างว่ากษัตริย์เจมส์ทรงพิโรธอย่างยิ่ง ถึงกับให้เซอร์เฮนรี่ยุติการปฏิบัติราชการตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary Permanent Representative of Thailand to the United Nations

เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ (ณ นครนิวยอร์ก/นครเจนีวา)

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

Amendments to the Charter of the United Nations

การแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติ

กฎบัตรของสหประชาชาตินั้น เปิดโอกาสให้มีการแก้ไขได้โดยสมัชชาสหประชาชาติหรือโดยที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ของสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งอาจจะประชุมกัน ณ วันเวลาและสถานที่ตามแต่จะมีการตกลงกัน โดยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ส่วนของสมัชชาใหญ่ และโดยคะแนนเสียงของสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงใด ๆ 7 เสียง ในที่ประชุมใหญ่นั้น สมาชิกแต่ละประเทศของสหประชาชาติจะมีเสียงลงคะแนน 1 เสียงการที่จะแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติให้เป็นผลสำเร็จ จะต้องได้เสียงสนับสนุนจากสมาชิกเป็นจำนวน 2 ใน 3 ส่วนของสมาชิกทั้งหมดในสมัชชาหรือจากที่ประชุมใหญ่ เมื่อการแก้ไขกฎบัตรเป็นที่รับรองแล้ว จะมีผลบังคับต่อสมาชิกทั้งหมดของสหประชาชาติ ก็ต่อเมื่อได้รับการสัตยาบันจากสมาชิก 2 ใน 3 ส่วนของจำนวนทั้งหมด รวมทั้งการรับรองจากสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงด้วยอาทิเช่น ในสมัยประชุมที่ 18 ของสมัชชาใหญ่ การแก้ไขกฎบัตรได้รับการรับรองเห็นชอบด้วย โดยผ่านข้อมติที่ 1991 (XVII) ในการแก้ไขครั้งนี้ได้เพิ่มจำนวนสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงจาก 11 เป็น 15 คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมจาก 18 เป็น 27 ประเทศ การแก้ไขดังกล่าวได้รับการลงมติรับรองเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1963 ในปัจจุบันนี้ ประเทศสมาชิกเป็นจำนวนมากกำลังเรียกร้องให้มีการปรับจำนวนสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงเสียใหม่

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

Amnesty International

องค์การนิรโทษกรรมสากล

องค์การนี้เริ่มต้นจากเป็นขบวนการเล็ก ๆ ก่อน เพื่อทำหน้าที่ประท้วง (Protest) แต่ภายในเวลาไม่นานนัก ได้ขยายตัวออกเป็นองค์การ เพื่อให้สมกับเป้าหมายและภารกิจที่ต้องปฏิบัติเพิ่มขึ้นมากมาย คติดั้งเดิมของการรณรงค์ระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนบรรดาบุคคลที่ต้องถูกคุมขังอยู่ทั่วโลก ด้วยข้อหาเกี่ยวกับความเชื่อถือทางการเมืองและการศาสนานั้น ได้บังเกิดจากความคิดของบุคคลหนึ่งชื่อปีเตอร์ เบเนนสันปีเตอร์ เบเนนสัน ได้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ประจำวันอาทิตย์ของอังกฤษชื่อ Sunday Observer เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1961 โดยให้หัวเรื่องบทความว่า ?นักโทษที่ถูกลืม? (The Forgotten Prisoners) บทความนี้ได้ประทับใจมติมหาชนทั่วโลกทันที และภายในปีเดียว องค์การได้รับเรื่องร้องเรียนในนามของนักโทษกว่า 200 รายองค์การนิรโทษกรรมสากลมีเป้าหมายนโยบายกว้างๆ อยู่ 3 ข้อ คือ ต้องการให้ปล่อยนักโทษผู้มีนโนธรรม (Prisoners of Conscience) ทั้งหมด ให้มีการยุติการทรมานนักโทษไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ รวมทั้งการลงโทษประหารชีวิตและให้มีการพิจารณาพิพากษาคดีนักโทษการเมืองทั้งหมดอย่างเป็นธรรมและไม่รอช้า องค์การนี้นอกจากจะมีชื่อเสียงว่าเป็นผู้ดำรงความเป็นกลางไม่เข้ากับฝ่ายใด และเป็นที่น่าเชื่อถือไว้วางใจได้อย่างแท้จริงแล้ว ยังเป็นเสมือนศูนย์ข้อมูลและข้อสนเทศที่สำคัญ ซึ่งบรรดาบุคคลสำคัญๆ ทางการเมืองทั่วโลกได้ใช้อ้างอิงอีกด้วยในปัจจุบัน องค์การนิรโทษกรรมมีสมาชิกและผู้สนับสนุนเป็นจำนวนกว่า 1 ล้านคน จากประเทศต่างๆ กว่า 150 ประเทศ องค์การอยู่ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการบริหารจำนวน 9 คน รวมทั้งตัวเลขาธิการอีกผู้หนึ่ง ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อมติเกี่ยวกับนโยบาย และเป็นหัวหน้าของสำนักเลขาธิการขององค์การด้วย มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ องค์การมีผู้แทนของตนประจำอยู่กับองค์การสหประชาชาติ เมื่อปี ค.ศ. 1978 ได้รับรางวัลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ และในปี ค.ศ. 1977 ก็ได้รับรางวัลสันติภาพโนเบลมาแล้ว

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

Andean Community (Communidad Andina - CAN)

ประชาคมแอนเดียน

ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2512 ประกอบด้วยสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ โบลิเวีย โคลัมเบีย เอกวาดอร์ และเปรู และสมาชิกสมทบ 4 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล อุรุกวัยและปารากวัย และประเทศผู้สังเกตการณ์ 2 ประเทศ ได้แก่ เม็กซิโก และปานามา

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

Andean Community (Communidad Andina -CAN)

ประชาคมแอนเดียน

ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2515 ประกอบด้วยสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ โบลิเวีย โคลัมเบีย เอกวาดอร์ และเปรู และสมาชิกสมคบ ประเทศ ได้แก้ อาร์เจนตินา บราซิล อุรุกวัย และปารากวัย และประเทศผู้สังเกตการณ์ 2 ประเทศ ได้แก่ เม็กซิโก และปานามา

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

Approbation

การที่รัฐหนึ่งใดมีทัศนคติในทางพึงพอใจและเห็นพ้องด้วยกับบทบัญญัติในสนธิสัญญาหนึ่งใด ซึ่งรัฐนั้นมิได้เป็นภาคีคู่สัญญานั้นแต่อย่างใด

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

Arab Free Trade Area

เขตการค้าเสรีอาหรับ

ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2541 โดยมติที่ประชุมสุดยอดอาหรับที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ (มิถุนายน 2539)

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

Arab League

ดู The league of Arab States

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

Arrival Ceremony

พิธีการต้อนรับ

ซึ่งมีลำดับขั้นตอน (procedure) แตกต่างกันไปตามระดับของผู้มาเยือนและประเภทของการเยือน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AscC PoA (ASEAN Socio-cultural Community Plan of Action)

แผนปฏิบัติการประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

Asia-Africa Cooperation

ความร่วมมือระหว่างเอเชียกับแอฟริกา

" เป็นความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียกับ ภูมิภาคแอฟริกา ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบการประชุมระหว่างประเทศเพื่อ การพัฒนาแอฟริกา ณ กรุงโตเกียว (Tokyo International Conference on African Development - TICAD) "

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

AusAID (Australia Agency for International Development)

หน่วยงานด้านความช่วยเหลือด้านการพัฒนาของออสเตรเลีย

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

abuse of privilege

การใช้เอกสิทธิ์โดยมิชอบ

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

accession

ภาคยานุวัติ

หมายถึง การให้ความยินยอมที่จะผูกพันตามสนธิสัญญาภายหลังจากที่มีการลงนามในสนธิสัญญาไปแล้ว

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

accredit

แต่งตั้งให้ไปประจำ

หมายถึง การแต่งตั้งมอบหมายให้หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตไปประจำยังประเทศอื่น และมีอำนาจดูแลประเทศนั้นหรือเขตอาณาต่าง ๆ ซึ่งในกรณีนี้เรียกว่า Accredited Ambassador

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

accretion

ที่งอกชายฝั่ง ที่งอกริมตลิ่ง

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

administration of the Royal Thai Government agencies in foreign countries

การบริหารราชการในต่างประเทศ

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

agreement (accord)

ความตกลง

ความตกลงระหว่างประเทศมี 2 ลักษณะ คือ ความตกลงที่มีลักษณะเป็นข้อผูกพันตามกฎหมาย และความตกลงที่ไม่มีลักษณะเป็นข้อผูกพันตามกฎหมาย

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

aide-m&eacute;moire

บันทึกช่วยจำ

" 1. เป็นเอกสารที่สร้างข้อผูกพัน ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของสัญญา 2. ในทางการเมืองระหว่างประเทศ เป็นเอกสารที่ช่วยย้ำประเด็นที่ได้มาพบและพูดไว้ "

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

alternative perimeter

แนวเขตที่เสนอเป็นทางเลือกในการเจรจาเขตแดนระหว่างประเทศ

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

amendment

การแก้ไขเพิ่มเติม

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

amity

สันถวไมตรี

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

anti-personnel landmines

ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

apartheid

การปกครองประเทศแบบแบ่งแยกผิวพันธุ์

เป็นระบบปกครองที่ใช้ในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งโดยไม่แบ่งแยกผิวพันธุ์ครั้งแรกขึ้นระหว่างวันที่ 26-29 เมษายน 2537 ในระบบการปกครองดังกล่าว ประชาชนแอฟริกาใต้ผิวดำถูกจำกัดสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิทางด้านการเมือง สิทธิการออกเสียงเลือกตั้ง สิทธิรับสมัครเลือกตั้ง การเป็นสมาชิกรัฐสภา การมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินบางพื้นที่ การเลือกที่อยู่อาศัย การใช้สถานที่พักผ่อน การรับราชการ การเข้ารับการศึกษา การประกอบอาชีพ และการใช้บริการสาธารณูปโภคจากรัฐบาล เป็นต้น

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

arbitration

การอนุญาโตตุลาการ

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

arms control

การควบคุมอาวุธ

หมายถึง การจำกัดชนิดและจำนวนอาวุธไม่ให้มีมากเกินความจำเป็น

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

arms reduction

การลดอาวุธ

หมายถึง การลดจำนวนอาวุธที่ครอบครองอยู่

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

audience

การเข้าเฝ้าฯ

" ใช้สำหรับการเข้าเฝ้าฯ พระมหากษัตริย์ พระราชินี หรือพระราชวงศ์ ชั้นสูง "

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

avulsion

การเปลี่ยนทางเดินของลำน้ำอย่างฉับพลัน

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

award

คำตัดสินอนุญาโตตุลาการ (ใช้ในแง่การระงับกรณีพิพาท)

หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)